วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 12 september 30.2015






Recorded Diary 12 
september 30.2015


ความรู้ที่ได้รับ



                      อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำผลงานที่ทำไว้มาเเปะโชว์ ที่ผนังหน้าชั้นเรียน







ผลงานของฉัน









     ชมวิดีโอเรื่อง ด.เด็ก ช.ช้าง 
เป็นวิดีโอเกี่ยวกับครูสอนศิลปะให้กับเด็ก





 จากการรับชมวีดีโอ 

 การที่สอนเด็กนั้นเราไม่ควรตัดสินเด็กในเรื่องด้านศิลปะด้วยการให้คะเเนนเด็ก เพราะการจินตนาการ การสื่อความหมายของเด็กแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ถ้าครูตัดสินเด็กเเบบนี้ก็จะทำให้เด็กอยู่แต่ในกรอบไม่กล้าที่จะคิดหรือต่อยอดออกไปในแนวอื่นได้


อาจารย์สอน เรื่องการบริหารสมอง




 การบริหารสมอง (brain activation)

หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อ corpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด





 การบริหารปุ่มสมอง

ใช้ มือขวาวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือซ้ายวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น- ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น






ปุ่มขมับ
1. ใช้นิ้วทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที
2. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน

ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ

- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
- ทำให้การทำงานของสมองทั้ง 2 ซึก ทำงานสมดุลกัน



ปุ่มใบหู
1. ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง
2. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบา ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น

ประโยชน์ของการนวดใบหู

- เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
- สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น




การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl)
ท่าที่ 1 นับ 1-10

ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10

- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
- เพื่อกระตุ้นความจำ




ท่าที่ 2 จีบ L
1. ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป
2. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
3. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้างทำเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L)เช่นเดียวกับข้อ 2
4. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา

- เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
- เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลย์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
- เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา




ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย
1. ยกมือทั้งสองข้างให้มือขวาทำท่าโป้งโดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
2. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
3. ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย

- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด




ท่าที่ 4 แตะจมูก-แตะหู
1. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)

ประโยชน์ของการบริหารท่า แตะจมูก-แตะหู
- ช่วยให้มองเห็นภาพด้านซายและขวาดีขึ้น




ท่าที่ 5 แตะหู
1. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
2. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวาส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย

ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย,แตะจมูก-แตะหู,แตะหู

- เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
- เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
- เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด



 การผ่อนคลาย
ยื่นใช้มือ ทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบา ๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 5-10 นาที

ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย

- ทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ


ภาพกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์



"ตัวเลขสร้างสรรค์"


"รูปแบบสร้างสรรค์"


"ภาพสมมาตรสร้างสรรค์"






      อาจารย์ให้แนวทางข้ันตอนในการสอนเด็กว่าเราควรจะนำเข้าสู่การสอนอย่างไร 
  เราควรใช้คำถาม what when where why who เเละ  How

และให้ดูวีดีโอของรุ่นพี่ไว้เป็นตัวอย่างในเรื่องของการไปสังเกตการสอน









  อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี





การประเมิน




From what has been learned.(สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้)

-เรื่อง การจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ ความคิด มุมมองที่แตกต่างของเพื่อน 
มีผลงานที่หลากหลาย 
-ได้ท่าทางที่จะนำไปฝึกการบริหารสมอง
-ได้เเนวทางการใช้คำถามเพื่อนำไปสอนเด็กได้ในการจัดประสบการณ์ทางด้านความคิดสร้างสรรค์

assessment (ประเมิน)

ตัวเอง 
เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

เพื่อน 
 เข้าเรียนตรงเวลาให้ความร่วมมือ ตอบคำถามในห้องอย่างสนุกสนาน 

ห้องเรียน 
ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อยอากาศเย็นสบาย

อาจารย์  
 สอนได้ละเอียด บรรยายในเนื้อหาให้นักศึกษาฟังได้อย่างครบถ้วนเเละเข้าใจง่าย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น